การดูแลจิตใจในผู้ป่วยมะเร็ง

8876 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคมะเร็งซึ่งเป็นโรคที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ซึ่งการรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม ผู้ป่วยก็ยังคงต้องการ ความรัก ความเอาใจใส่ และความสบายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นการดูแลในส่วนนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

บทบาทของผู้ใกล้ชิดต่อการดูแลผู้ป่วย

ผู้ใกล้ชิดมีบทบาทสำคัญทั้งในเรื่องการช่วยเหลือดูแล เป็นกำลัง แนะนำแนวทาง ควรทราบความสัมพันธ์และความเป็นไปของผู้ป่วยกับบุคคลและสิ่งของต่างๆ สิ่งที่ผู้ป่วยชอบ เพื่อนำมาดำเนินการให้เป็นไปตามประสงค์ของผู้ป่วย

ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยควรได้รับความรู้ในการดูแล เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องทันท่วงที ควรทราบข้อมูลการวินิจฉัยโรค การรักษา และมีโอกาสได้ร่วมตัดสินใจเรื่องการดูแลรักษาให้มากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นที่จะมีทั้งผลดีและผลเสีย หรือเรื่องที่อาจมีความขัดแย้งในอนาคต เช่น การปฏิบัติการกู้ชีวิต การใส่ท่อหรือสายต่างๆ ในร่างกาย หากมีความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัว ควรร่วมพูดคุยกับแพทย์ พยาบาล หรือตัวผู้ป่วยเองหากมีความพร้อม สภาพผู้ป่วยและความป่วยของผู้ป่วย ย่อมมีผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิด ดังนั้นผู้ใกล้ชิดที่ดูแลผู้ป่วย นอกจากต้องรับภาระทางกายแล้ว ยังต้องมีภาระทางจิตใจ ต้องรับรู้ปฏิกิริยาของผู้ป่วยตลอดเวลาที่ดูแล จึงควรให้ความสำคัญ ให้กำลังใจ และสนับสนุนบุคคลดังกล่าว ให้ได้มีโอกาสแสดงความรู้สึก หาทางผ่อนคลาย ให้ผู้ดูแลได้พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ และควรมีศรัทธาในการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยพ้นทุกข์ทั้งในขณะมีชีวิตและขณะที่กำลังจากไป อย่าหดหู่และเศร้าหมอง

หลายครั้งความเจ็บปวดทุกข์ทรมานของผู้ป่วยยังคงอยู่ แม้แพทย์ผู้รักษาและผู้ดูแล จะทำการรักษาและดูแลอย่างเต็มที่แล้ว คนใกล้ชิดในครอบครัวอาจรู้สึกผิดหวัง รู้สึกว่าไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรหลีกหนีต่อความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ควรให้โอกาสผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึกออกมา

การดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้าย คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการดูแลทางด้านจิตใจ อาการทางกายสามารถแก้ไขได้ด้วยยา วิธีการทางการแพทย์ หรือ อาหาร เป็นต้น แต่อาการทางใจเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน อาจต้องให้ยา แต่สิ่งสำคัญที่สุดต้องใช้ใจ (ของผู้ดูแล) ช่วย

วิตกกังวล

ต้องให้ผู้ป่วยแสดงความกังวลออกมา ผู้ดูแลคอยรับฟังซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างเอาใจใส่ โดยไม่ต้องแนะนำอะไร ส่วนใหญ่เมื่อได้ระบายก็คลายความกังวลได้ แต่อาจต้องให้ยาช่วยในกรณี ผู้ป่วยตื่นบ่อย กังวลมาก นอนไม่หลับตลอดคืน เช่น nortriptyline 10-25 mg. หรือ imipramine 25 mg. ก่อนนอน

เสียใจ

การพลัดพรากจากคนและสิ่งที่รัก ยังความเสียใจกันทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว สามารถช่วยลดความกระวนกระวายหรือแม้แต่ความเจ็บปวดทางกาย โดยการกระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดคุยถึงสิ่งที่ต้องเผชิญอยู่ สำหรับคนใกล้ชิดเองอาจต้องหาคนที่เราจะระบายความรู้สึกเสียใจเมื่อจะต้องสูญเสียผู้ป่วยไป ระบายความโกรธแค้นที่ผู้ป่วยตัดช่องน้อยแต่พอตัวปล่อยให้ครอบครัวเผชิญชะตากรรมตามลำพัง เป็นต้น  

นอนไม่หลับ

สาเหตุอาจมาทั้งจากอาการทางกายและใจ ทางกาย ได้แก่ ความปวด ข้อติด เหงื่อออกตอนกลางคืน หรือนอนกลางวันมากเกินไป ส่วนสาเหตุทางใจ ได้แก่ ความกลัว กังวล เช่น กลัวฝันร้าย กลัวจะนอนหลับเสียชีวิตไปเลย หรือกลัวปัสสาวะรดที่นอน การดูแลควรแก้ที่สาเหตุก่อนไม่ควรให้ยาในทันที เช่น กระตุ้นไม่ให้นอนกลางวัน หรือถ้ากลัวเสียชีวิตขณะหลับ ให้ใช้การนวดและเสียงดนตรีช่วย หรือให้กำลังใจถ้ากลัวฝันร้าย

ซึมเศร้า

ผู้ป่วยที่ซึมเศร้ามักจะทุรนทุราย สมาธิและความจำไม่ดี และมักตื่นตอนดึกบ่อยๆ บางครั้งตื่นแล้วก็นอนไม่หลับอีกจนเช้า อาการนี้หากมีมากต้องการการรักษาทางยา โดยใช้ยากลุ่ม antidepressants เช่น amitriptyline และ imipramine 25-150 mg และคงต้องให้ผู้ป่วยระบายอารมณ์ ความหงุดหงิด และความขุ่นเคืองออกมา บางครั้งอาการซึมเศร้าเป็นผลมาจากอาการทางกายโดยเฉพาะความปวด ดังนั้นหากผู้ป่วยหายจากอาการปวด อารมณ์เศร้าก็จะลดน้อยลง

ความพยายามฆ่าตัวตาย

   ถึงแม้ผู้ป่วยมะเร็งจะคิดฆ่าตัวตายแต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ทำ ส่วนใหญ่ช่วงระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะเกิดความสับสนกับอารมณ์หลายอย่าง รวมถึงความเจ็บปวดทางกาย ข้อปฏิบัติสำคัญของผู้ดูแลคือ หาวิธีการลดความเจ็บปวดทรมานของผู้ป่วย และประคับประคองให้ผู้ป่วยมีความหวัง

การดูแลตามสภาพการเกิดผลกระทบทางจิตใจของผู้ป่วย ดังนี้

- ระยะก่อนและขณะที่ได้รับทราบการวินิจฉัย

- ผู้ป่วยมะเร็งมักจะอยู่ในวัยที่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว

ดังนั้นความตึงเครียด และกังวลต่อโรคที่ได้รับวินิจฉัย ความรู้สึกในวันก่อนทราบการวินิจฉัยจึงมีลักษณะขัดแย้งกันในตัวเอง มีความสับสนทั้งต้องการทราบ ผลการวินิฉัย แต่ก็กลัวที่จะเป็นมะเร็ง เป็นลักษณะความขัดแย้งในอารมณ์ เมื่อแพทย์บอกการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ด้วยความรู้สึกและมีเจตคติต่อ โรคมะเร็ง ว่าเป็นโรคนี้แล้วต้องตาย ไม่มีทางรักษา โดยพฤติกรรมก็อาจจะแสดงออกมา ในรูปแบบต่างๆกันดังนี้

ระยะที่ 1 การปฏิเสธและการแยกตัว (The stage of denial isolation)

ผู้ป่วยจะไม่ยอมพูดหรือรับฟังเรื่องโรคที่เขาเป็นอยู่ มีปฏิกิริยา 2 แบบ คือ

1. เศร้าโศก ร้องไห้อาลัยชีวิตที่กำลังจะสิ้นสุดลง เมื่อมีผู้พูดถึงโรคของเขา

2. ซึมเศร้า เฉยเมยไม่พูดจากับใคร แยกตัวเองจากสิ่งแวดล้อม จะพูดด้วย เฉพาะผู้ที่เข้าใจเขาเท่านั้น

ระยะที่ 2 โกรธ (the stage of anger)

ผู้ป่วยมีอาการขุ่นมัว ใครทำอะไรไม่ ค่อยถูกใจ โกรธง่าย โกรธที่ตนเองกำลังจะสูญเสียทุกอย่างในชีวิต คิดว่าตนนั้นโชคร้าย กว่าใครๆทั้งหมด ไม่เหมือนผู้อื่นเขา ครอบครัวและญาติต้องเข้าใจไม่แสดงอาการโกรธตอบ พยายามหาทางให้ระบาย การให้อภัยเห็นอกเห็นใจการพยาบาลที่สุภาพ ละมุนละไม และการแสดงความรัก ความห่วงใยของญาติ ครอบครัว ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยคลายความขุ่นมัว หงุดหงิดได้

ระยะที่ 3 การต่อรอง (The stage of bargaining)

เมื่อไม่สามารถปฏิเสธ ความจริงได้ก็มักจะต่อรอง ขอให้ได้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีก แม้จะไม่นานก็ตามส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับ ศาสนา และความเชื่อ เช่น การบน ญาติควรให้โอกาสได้พบพระ ทำบุญ และสิ่งที่ เขาประสงค์ในทางที่ควร

ระยะที่ 4 ซึมเศร้า (The stage of depress)

ผู้ป่วยมักเงียบขรึม ซึมเศร้าไม่ ต้องการให้ใครเยี่ยม การชวนคุยหรือเบนความสนใจมักไม่ได้ผล การนั่งเป็นเพื่อนเงียบๆ สัมผัสมือ เบาๆ ท าการพยาบาลอย่างสุภาพอ่อนโยน ก็เป็นการเพียงพอ

ระยะที่ 5 การยอมรับ (the stage of acceptance)

ถ้าผู้ป่วยผ่านมาสู่ระยะนี้ การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด การโกรธเคือง เศร้าโศกจะหายไปหมด เป็นระยะที่ผู้ป่วยต้องการพักผ่อน เงียบๆ เป็นครั้งสุดท้ายกับผู้ที่เขารักตามลำพัง ควรให้การดูแลสัมผัสอย่างแผ่วเบา และอ่อนโยนมากกว่าการใช้คำพูด ระยะต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจเรียงหรือไม่เรียงตามลำดับก็ได้ เช่น ผู้ป่วยอาจจะ ซึมเศร้า ก่อนหรือหลังการยอมรับ การวินิจฉัยก็ได้ ภาวะต่างๆเหล่านี้ ตั้งแต่การปฏิเสธ ความจริง การต่อรอง หรือการหลบหนีความจริง ล้วนแล้วแต่สร้างความกังวลใจให้ ผู้ป่วย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยก็ได้ ระยะที่ให้การรักษา เป็นที่ทราบกันดีว่า การรักษาโรคมะเร็งมีวิธีการได้ ต่างๆกัน ตั้งแต่การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยไม่ ค่อยเข้าใจและกลัวต่อภาวะแทรกซ้อนมาก

ระยะสุดท้าย ระยะนี้ผู้ป่วยจะท้อแท้ บางครั้งมีความรู้สึกอยากตาย บางครั้งรู้สึก ไม่อยากตาย รู้สึกยังมีสิ่งที่ยังไม่ได้รับการจัดการอีกมาก ในระยะนี้ ผู้ให้การรักษา ควรอธิบายให้ญาติเข้าใจ และจัดสิ่งแวดล้อมตามความพอใจของผู้ป่วย แม้แต่สถานที่ที่จะตาย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้