งานค้นคว้าวิจัยของสมุนไพรในผลิตภัณฑ์จีเฮิร์บ

หมอสมหมายรู้จักกับ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ซึ่งทำงานอยู่ในองค์การเภสัชกรรมและ เป็นผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซเกี่ยวกับยาต่อต้านเอดส์ ดร.กฤณาเห็นว่ายาตำรับนี้น่าจะมีประโยชน์แก่ประเทศชาติจึงได้นำไปทดลองในสภาองค์กรค้นคว้าองค์การเภสัชกรรม ได้ผลการทดลองคือยาตำรับนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งได้มีการทดลองค้นคว้าเรื่อยมาจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงของไทย


ครั้งที่ 1 คุณจิตรา วิวัฒน์วิทย ได้ทำการทดลองตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1992 (หรือปีพ.ศ.2535) ทำการทดลองที่มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการการทดลองโดยสรุปคือ การศึกษาพิษวิทยาของสารสกัดตำรับยานี้ในหนูโกร๋น โดยป้อนน้ำสกัดปริมาณ 2,580 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ติดต่อเป็นเวลา 3 เดือน ไม่พบการเกิดพิษของยาสมุนไพรในหนูโกร๋นทั้งลักษณะภายนอก และการตรวจทางฮีสโตพาโทโลจี (Histopathplogy)

โดยสรุปยาสมุนไพรตำรับนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเม็งเร็งปากมดลูกที่ได้รับการปลูกถ่ายในหนูโกร๋นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผลการตอบสนองทงระบบคุ้มกันพบว่ามีการเพิ่มความสามารถของ NK CELLS ต่อการทำลาย cell Lymphoma cells ในหลอดทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

การทดลองครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2 คุณเพียง ธิโสดา ได้ทำการทดลองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 (หรือ พ.ศ. 2538) ทำการทดลองที่มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการทดลองโดยสรุปว่า สมุนไพรตำรับนี้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในหนูโกร๋นที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็ง โดยกระตุ้นการทำงานของ Natural Cells ในการทำลายเซลล์มะเร็ง Lymphoma Cells ในหลอดทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

การทดลองครั้งที่ 2

เมื่อให้การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกลุ่มสิงห์บุรีด้วยสมุนไพรตำรับนี้นาน 2 สัปดาห์พบว่า ความสามารถ NK Cells ในการทำลายเซลล์เป้าหมายในหลอดทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าสมุนไพรตำรับนี้มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของ NK Cells ในการทำลายเซลล์เป้าหมายได้โดยตรง

ครั้งที่ 3 องค์การเภสัชกรรมให้ทุน ผศ.นพ. ประวิทย์ อัศเสรีนนท์ ทำการค้นคว้า โดยได้ผลสรุปคือสารสกัดสมุนไพร GPO 1986 บ่งชี้ถึงประโยชน์ในการนำสารสกัดดังกล่าวมาใช้ในการรักษาหรือป้องกันการแพร่กระจายของเนื้องอกชนิดไกลโอลาสโตมา (Gliblastoma)

การทดลองครั้งที่ 3

 

ผลการทดสอบพิษจากสถาบันที่มีชื่อเสียงในประเทศอินเดีย สรุปไม่มีสารพิษในสมุนไพร


องค์การเภสัชกรรมส่งยาตำรับนี้ไปทดลองเรื่องพิษในสมุนไพร (Toxicity) ที่สถาบันค้นคว้าของประเทศอินเดีย เพื่อทดลองพิษ สรุปว่าไม่พบพิษ เพื่อให้เป็นที่แน่ใจและยอมรับในสากล

ต่อมามีการทดลองที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นปริญญานิพนธ์ เพื่อการทดลองโดยแยกสารสำคัญแต่ละตัวของสมุนไพร แต่ตัวอย่างทั้งหมดที่ทดลอง สุดท้ายก็ถูกเก็บอยู่ในห้องสมุด ไม่มีการทดลองต่อยอดต่อไป

ในปีพ.ศ.2542 ดร.กฤษณา ไกรสินธ์ ขอให้นายแพทย์สมหมาย ทองประเสริฐ เซ็นมอบสูตรสมุนไพรตำรับนี้ให้กับองค์การเภสัชกรรม นายแพทย์สมหมาย ทองประเสริฐ ได้เซ็นมอบสุตรยาให้กับองค์การเภสัชกรรมโดยไม่รับค่าตอบแทนใดๆทั้งที่ตอนนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศสวิตแลนด์ทราบเรื่องยารักษามะเร็ง จึงขอสูตรยาโดยจะแบ่งเปอร์เซนต์ให้ แต่ต้องมอบสูตรยาและตัวยาให้ไปค้นคว้าในต่างประเทศ คุณหมอคิดว่ายาสมุนไพรเป็นของคนไทยควรจะต้องมีการทดลองในปรเทศไทย และต้องมีการพัฒนาอีกต่อไปในวันข้างหน้า

คุณหมอตั้งใจมอบให้กับประเทศโดยเจตนาที่ดี จึงบอกปฏิเสธบริษัทยาต่างประเทศ และมอบสูตรยาให้กับองค์การเภสัชกรรม

สัญญาการมอบสูตรยาให้กับองค์กรเภสัชกรรม

 

มีเจ้าหน้าที่บริการ 24 ชม.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้